About

ขับเคลื่อนโดย Blogger.
RSS

สอนการออกเสียงคำภาษาอังกฤษ ภาค 2

การฝีกอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ

The Gummy Bear Song

Learning Log

 Learning  Log

30 พฤษภาคม 2555
            เรียนเรื่อง Innovation Education Technology in the global Classroom คือ เทคโนโลยีใหม่ๆ ในห้องเรียนระดับโลก      อักษรย่อในการเรียนบทนี้ และการออกแบบข้อสอบโดยใช้เครื่องมือนักพัฒนา โดยใช้โปรแกรม Microsoft Word    

6 มิถุนายน 2555
                 เรียนเรื่องInnovation Education Technology in the global Classroom สอนการสร้างข้อสอบโดยใช้เครื่องมือนักพัฒนา และแบ่งกลุ่มละ 6 คน ช่วยกันศึกษาเรื่องOn The Problems and Strategies of Multimedia Technology in English   Teaching   และนำเสนอหน้าชั้นเรียน

7 มิถุนายน 2555
        อ่านบทความ On the problem and Strategies of Muitimedia Techcology in English Teaching (ปัญหาและวิธีการของการนำเทคโนโลยีสื่อประสมในการสอนภาษาอังกฤษ) แบ่งหัวข้อและให้แต่ละกลุ่มออกแบบมานำเสนอหน้าชั้นเรียน สอนการสร้าง   Blog ,   การสมัคร  G-mail   การเปลี่ยน template ปฎิทิน ใส่วีดีโอจาก Youtube , การใส่นาฬิกา ,การใส่ปฏิทิน เป็นต้น

14 มิถุนายน 2555
            เรียนเรื่องการทำ blog  การตกแต่งบล็อก การใส่นาฬิกา , ปฏิทิน , แทรกวีดีโอ , เพิ่มบทความ , เพิ่มลิงก์ไปยังเพื่อนในห้องเรียนและอาจารย์

21 มิถุนายน 2555
          เรียนการทำ Link บทความไปยังหน้า Website ต่างๆ โดยใช้ “Recent posts”ซึ่งเป็นตัวแสดงชื่อของบทความที่ใส่ไปใน Blogและอาจารย์บอกรายละเอียดข้อมูลที่จะต้องใส่ในบล็อก

28 มิถุนายน 2555
          เรียนรู้การตกแต่ง Photoshop เพื่อที่จะมาใส่ใน Blog ด้วยโปรแกรม Photoshop และตกแต่ง blog

5 กรกฎาคม2555
          เรียนรู้ขั้นตอนการทำแบบสำรวจใส่   Do you like my blog? แล้วให้เพื่อน vote ใน blog  และ Linkเว็บที่เกี่ยวกับภาษาอังกฤษรียน  ได้เรียน เรื่อง CAI หรือ บทเรียนช่วยสอนคอมพิวเตอร์โดยต้องใช้ โปรแกรมAdobeCaptivate 5 อาจารย์ เปิดตัวอย่าง การออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  จัดทำ Story board เรื่องต่างๆ โดยให้นักศึกษาเลือกเรื่องที่จะสอนเอง มี Pre-test, Exercise 1,2 และ Post- test

12 กรกฎาคม2555
           เรียนรู้เรื่อง CAI วันนี้อาจารย์ออกแบบ (หน้าแรก) “ ยินดีต้อนรับเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ช่วยสอน” ในเรื่องที่เราจะสอน ให้ตั้งวัตถุประสงค์ 
19 กรกฎาคม2555
          เรียนรู้การทำให้รูปภาพ / ตัวอักษรขึ้นเวลาใช้เมาส์ไปชี้อาจเป็นการใช้ในเรื่องของคำศัพท์หรืออาจจะเป็นการให้ข้อความมาและเมื่อชี้ที่รูปภาพก็จะเป็นคำศัพท์ขึ้นมา

26 กรกฎาคม 2555
             เรียนรู้การใส่เสียงใน CAI โดยหารูป หูฟัง แล้วหา Fileที่เก็บเสียงในโฟล์เดอร์ คำศัพท์ที่เกี่ยวกับเรื่องที่เราจะสอน เช่น Good job, Excellent ,try again,Try  once  more.
                การออกแบบข้อสอบแบบเลือกตอบซึ่งต้องมีการตั้งค่า ที่ผู้เรียนสามารถตอบได้เพียงคำตอบเดียว , ตอบให้ถูกต้องก่อนไปทำข้ออื่นโดยมีการตั้งค่าต่างๆ ทำข้อความแสดงต้องการออกจากโปรแกรม (เมื่อกด Exit จะมีการใช้คำถาม “Do you want to exit? ” และมี คำว่า YES / NOด้วย) จากนั้นก็ตั้งค่าปุ่มต่างๆเพื่อเชื่อมเข้าด้วยกัน

9 สิงหาคม 2555
                อาจารย์สอน  การออกข้อสอบ แบบ True - False และ Fill in the blank 

16 สิงหาคม 2555
          อาจารย์สอนวิธีการ Publish file แบบ Media และได้ บอกเนื้อหาที่ต้องใส่ในรายงานทั้งหมด

14 กันยายน 2555
            สอนการใส่ชื่อ  login ใน CALL และการ Publish fileอีกวิธีหนึ่ง เป็น Flash (.swf)

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

Innovative Educational Technology in the Global Classroom


Innovative Educational Technology in the Global Classroom
เทคโนโลยีใหม่ๆ ในห้องเรียนระดับโลก                                      
(Innovative Educational Technology in the Global Classroom)

            โลกาภิวัตน์และนวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญของการศึกษาของครู ESOLและ ครู TESOL เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการปฏิบัติทางการศึกษา ซึ่งกล่าวได้กล่าวว่า "เมื่อสร้างงานเทคโนโลยีแบบบูรณาการครูควรพิจารณาสิ่งที่พวกเขาต้องการให้นักเรียนที่จะเรียนรู้จากมันในแง่ของทั้งเทคโนโลยีและเนื้อหาทางวิชาการ."

การบูรณาการเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน
                การบูรณาการเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน ครูควรพิจารณาถึงสิ่งที่ต้องการให้เด็กเรียนรู้ ทั้ง ด้านเทคโนโลยีและเนื้อหาด้านวิชาการ และเป็นสิ่งสำคัญเพื่อทบทวน วัตถุประสงค์ ขั้นตอน และการประเมินผลงาน ทั้งสองประเภทของเทคโนโลยีการเรียนการสอน คือESOLและ ELL ซึ่งเป็นการสอนที่ผสมผสานการสื่อสารระหว่างกัน เช่น การสนทนาออนไลน์ และเทคโนโลยีแบบคงที่ เช่นpodcasting

 กรณีศึกษาของผู้เรียนภาษา (The ELL Case study)
                  ในการเรียนการสอนจะประกอบด้วย นักเรียนและครูสนทนากันเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆในชีวิตจริง เพื่อที่จะให้ครูได้ข้อมูลเกี่ยวข้องกับผู้เรียน ครูสามารถตรวจสอบภาษาศาสตร์ และความรู้เดิมทางวัฒนธรรม การออกแบบสถานการณ์จำลองการศึกษาที่เกี่ยวข้อง และการแก้ปัญหาทางภาษาที่แท้จริง การสร้างภาษาอังกฤษเป็นศูนย์กลางของแหล่งภาษาอื่น ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ เพื่อนร่วมงาน ครู และพ่อแม่ ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
        1. เตรียมความพร้อมกรณีศึกษาโดยการเลือกผู้เข้าร่วมการเรียนภาษาอังกฤษและการทบทวนกรณีศึกษาผู้ที่เรียนภาษาอังกฤษ
       2. การเก็บรวบรวบข้อมูลจากกรณีศึกษาผู้ที่เรียนภาษาอังกฤษ
       3. การวิเคราะห์ข้อมูล
       4. การสร้างสถานการณ์ที่สามารถแก้ปัญหาได้

การเขียนบล็อก (Blogging)
                 การเขียนข้อมูลเกี่ยวกับกรณีศึกษาซึ่งกลายเป็นบันทึกออนไลน์ของนักเรียน ซึ่งจะอัปโหลดลงเว็บบล็อก อาจเป็นข้อความ, ภาพกราฟิก, ไฟล์ PDF, รูปภาพ, ลิงค์เกี่ยวกับบล็อกต่าง

Podcasting
               หลังจากที่นักเรียนมีบล็อกแล้ว พวกเขาก็จะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Podcasting ได้แก่   การใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นโปรแกรมเสียงสำหรับการดาวน์โหลด สามารถเล่นเสียงด้วยคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเล่นMP3

Creating a Wiki
                การสร้างแหล่งข้อมูล (Creating a Wiki) จะทำหลังมีบล็อก ซึ่งครูผู้สอนจะเป็นคนแนะนำวิธีการสอนและกิจกรรมที่ให้เพื่อนร่วมชั้นของพวกเขาผ่านทางวิกิพีเดียในกระดานดำ (http://www.blackboard.com)

Online Discussion
                  สนทนาทางออนไลน์ (Online Discussion) จะสนทนาผ่านทางกระดานข้อความ

ข้อเสนอแนะในการนำเทคโนโลยีไปใช้   Implications
                 ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อนักเรียนและครูเกิดการเรียนรู้ที่เหมือนกันคือ   ถ้าเป็นนักเรียนสิ่งที่พวกเขาต้องการเรียนรู้ (What they want to learn?)  เมื่อไหร่ที่พวกเขาต้องการที่จะเรียนรู้ (When they want to learn?)ที่ที่พวกเขาต้องการเรียนรู้  (Where they want to learn?)  ถ้าเป็นครู  สิ่งที่พวกเขาต้องการที่จะสอน  (What they want to teach?)   เมื่อพวกเขาต้องการที่จะสอน (When they want to teach?) ที่ที่พวกเขาต้องการที่จะสอน   (Where they want to teach?)       
   เคล็ดลับสำหรับการบูรณาการเทคโนโลยีในห้องเรียน
                1.ต้องกล้าเสี่ยงกับเทคโนโลยีใหม่
                2.ต้องคุ้นเคยกับเทคโนโลยีก่อนที่จะแนะนำให้ผู้อื่น
                3.สร้างชุมชนการเรียนรู้ในเชิงบวก
                4. ค้นหาและใช้บทเรียนต่างๆและเว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

Applying Innovative Spirit to Multimedia Foreign Language Teaching.

Applying Innovative Spirit to Multimedia Foreign Language Teaching.

การประยุกต์จิตวิญญาณแห่งนวัตกรรมลงในสื่อการสอนภาษาต่างประเทศ
1. บทนำ
         ในปัจจุบัน ผู้คนต่างตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนั้น การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และการฝึกฝนด้วยตัวผู้เรียนเองกลายเป็นหัวข้อที่คนกำลังให้ความสนใจ ด้วยพัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สื่อเทคโนโลยีถูกใช้งานในการสอนมากขึ้น รวมถึงในการสอนภาษาอังกฤษเช่นกัน ตัวอย่างเช่นหลักสูตรภาษาอังกฤษระดับวิทยาลัย ซึ่งเป็นที่คาดหวังการใช้สื่อและระบบเครือข่ายในการสอนรูปแบบใหม่ ขณะเดียวกัน ผู้เรียนก็ได้รับการแนะนำให้เรียนภาษาอังกฤษโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยมากขึ้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าการผสมผสานระหว่างสื่อเทคโนโลยี กับการสอนภาษาอังกฤษถูกปลูกฝังลงในวิธีการสอน แต่นี้จะช่วยให้การเรียนภาษาประสบความสำเร็จจริงหรือ

         คำตอบคือไม่ ในทางปฏิบัติ สื่อเทคโนโลยีเหล่านี้ยังคงมีข้อบกพร่อง อีกทั้งความเข้าใจผิดของครูผู้สอน หรือแม้แต่เนื้อหาที่มีอยู่ในวงที่จำกัด ท้ายที่สุด ผลออกมาเป็นว่าเกิดความไม่สมดุลในบางสถานศึกษา ที่ลงทุนมาก แต่ผลตอบแทนกลับไม่คุ้มค่าอย่างที่คิด การที่การใช้สื่อในการสอนภาษานั้นจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ จะต้องขึ้นอยู่กับจิตวิญญาณแห่งนวัตกรรมในตัวครูผู้สอน, การมีแนวคิดของนวัตกรรมการสอนของตนเอง, การใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย และความคิดสร้างสรรค์ที่ปฏิบัติได้จริง
2. สื่อการสอน และแนวคิดนวัตกรรมทางการศึกษา

         ธรรมเนียมการสอนภาษาอังกฤษแบบเก่าๆ นั้น จะพึ่งพาการผสมผสานระหว่างครูผู้สอน นักเรียน ชอล์ค กระดานดำ และเทปบันทึกเสียง ในขณะที่การสารโดยใช้สื่อ จะรวมเอา ครู นักเรียน คอมพิวเตอร์ และบทเรียนเข้าด้วยกัน ซึ่งจะมีทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเอง ตามทฤษฎีนี้ ผู้เรียนจะไม่เป็นแค่ผู้รับความรู้อยู่เฉยๆ แต่จะเป็นผู้สร้างที่กระตือรือร้นด้วย ดังนั้นผู้เรียนก็จะสามารถนำความรู้ที่ได้รับนอกห้องเรียน มาสร้างเป็นความรู้ใหม่ๆ ได้ ด้วยเหตุนี้ ผู้เรียนจะประสบความสำเร็จในการเรียน

         ทฤษฎีนี้ถือเป็นทฤษฎีพื้นฐานของการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อ ขณะที่กำลังสอนโดยใช้สื่อ ตัวครูเองก็ต้องสร้างสรรค์ หรือริเริ่มแนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษา เป็นของตนเองอยู่ตลอดเวลา เพราะการสอนโดยใช้สื่อเทคโนโลยี จะไม่สามารถแสดงศักยภาพได้ด้วยการใช้มันเป็นแค่กระดาษ และตัวชี้เท่านั้น
          ดังนั้น ครูควรนำบทเรียนมาใช้ดำเนินการแก้ปัญหาการศึกษา ขณะเดียวกันก็หลบเลี่ยงวิธีการสอนแบบยัดเยียดซึ่งปกตินิยมใช้กัน เปลี่ยนเป็นการจัดการชั้นเรียนอย่างเหมาะสม เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารของผู้สอนกับผู้เรียน จากแบบหุ่นยนต์ สั่ง ทำตาม สั่ง ทำตาม เป็นแบบครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของตัวผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอนอีกด้วย
3. การใช้สื่อการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และการค้นพบรูปแบบการสอนภาษาใหม่ๆ
          ประโยชน์อย่างหนึ่งของการใช้สื่อในการสอนภาษาคือ เป็นการช่วยเพิ่มรูปแบบ วิธีการ และคำนิยามของการสอนภาษาให้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ การเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากรในการสอนไปสู่ขั้นสูง จะช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จของการเรียนภาษา
3.1 ผลกระทบเชิงบวกของสื่อต่อการสอนภาษาต่างประเทศ
          อย่างแรกเลย สื่อการสอนจะช่วยเพิ่มคุณค่าของข้อมูลในการสอน และช่วยประหยัดเวลาจากการเขียนกระดานดำ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของชั้นเรียนอีกด้วย เวลาที่เพิ่มมาก็สามารถนำไปใช้ทบทวนบทเรียนได้
          ข้อสอง ด้วยการบูรณาการแสง สี เสียง และรูปภาพ เข้าด้วยกัน ไว้ในสื่อ จะช่วยยกระดับการสอน และรูปแบบการเรียนรู้ ทั้งที่ตัวผู้สอนเอง และตัวผู้เรียน สภาพแวดล้อมที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับผลตอบกลับในทันที เพื่อให้ทราบถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้
          ข้อสาม ครูผู้สอนสามารถแสดงเนื้อหาบทเรียนได้ด้วยข้อมูลที่หลากหลาย เช่น ครูสามารถบันทึกรายการโทรทัศน์ลงในแผ่นดิส และให้นักเรียนชมเพื่อให้ทันความเป็นไปของโลก
          ข้อสี่ ข้อมูลมัลติมีเดียแบบหลายมิติ จะช่วยปลูกฝังการคิดแบบเชื่อมโยงให้แก่นักเรียน ความคิดของมนุษย์นั้นจะสะท้อน และเชื่อมโยงกัน ทั้งเสียง ภาพ ความรู้สึก และตัวเลข จะช่วยสร้างประสิทธิภาพของความคิดและความทรงจำของมนุษย์ ครูสามารถใช้สื่อสร้างความยืดหยุ่นของข้อมูล และเลือกใช้วิธีการสอน
          ข้อห้า การสอนโดยใช้สื่อจะให้แพลตฟอร์มสำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างครู กับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน ครูสามารถตอบปัญหาของนักเรียนในห้อง หรือเลือกที่จะตอบข้อซักถามต่อผ่านทางระบบออนไลน์ แม้กระทั้งตรวจข้อสอบของนักเรียนด้วย  ช่องทางนี้ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนติดต่อสื่อสารกันเองได้อย่างสะดวกสบายด้วย
3.2 ปัญหาและทางออกที่เกี่ยวข้องกับการสอนโดยใช้สื่อ
          นอกจากผลกระทบเชิงบวกของการใช้สื่อในการสอนแล้ว ข้อผิดพลาด และความเข้าใจผิดอาจเกิดขึ้นในการสอนได้  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะปรากฎในรูปแบบดังต่อไปนี้
          อย่างแรก การครอบงำในการถ่ายทอดความรู้ด้วยข้อมูลสมัยใหม่  บทเรียนแบบง่ายๆ ที่ครูใช้สอน แต่ขาดการใช้นวัตกรรม แบบเรียนนี้อาจง่ายต่อครูในการสอน แต่จะเป็นการละเลยต่อสถานะของผู้เรียน ด้วยเหตุนี้ การใช้สื่อจึงไม่สัมฤทธิ์ผลอย่างที่ควร
          อย่างที่สอง ผลกระทบจากการใช้สื่อมากเกินไป เหมือนต้นไม้ที่ออกดอกมาก แต่ไม่มีผล เมื่อขาดการวิเคราะห์เนื้อหาของบทเรียน และออกแบบการสอนที่เหมาะสม ทำให้ผลการสอนไม่ออกมาอย่างที่คิด วิธีการที่จะนำเสนอต่อไปนี้สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่กล่าวมาได้

          ขั้นแรก รวมวิชากับสื่อเข้าด้วยกันด้วยวิธีที่ถูกต้อง  การสอนภาษาอังกฤษส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการฟัง การพูด การอ่านแบบละเอียด และอ่านแบบกว้างๆ  หลักสูตรที่ต่างกัน ก็ต้องการวิธีการสอนและสื่อเทคโนโลยีที่ต่างกัน ครูผู้สอนควรจะสามารถวิเคราะห์ลักษณะความแตกต่างของแต่ละวิชา และเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมได้  วิชาที่เกี่ยวกับการฟังและพูดควรจะเน้นที่การสร้างโอกาส และบรรยากาศในการสื่อสารกันในภาษาอังกฤษให้แก่ผู้เรียน ครูสามารถรวมหัวข้อการสื่อสาร และโครงสร้างของประโยคลงในสื่อที่สดใส และใช้งานง่าย เช่น ภาพ เพลง หรือภาพยนต์  ในขณะเดียวกันก็จัดให้ผู้เรียนสร้างบทพูด (Dialogues) บทละคร และการพูดคุยด้วยสื่อ เพื่อเสริมสร้างความน่าสนใจ และความกระตือรือร้นของผู้เรียน

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

Acronyms

                                         Acronyms
                1. IT (information technology) เป็นคำศัพท์ที่รวมรูปแบบทั้งหมดของเทคโนโลยีที่ใช้สร้าง เก็บ แลกเปลี่ยน และใช้สารสนเทศในรูปแบบหลากหลาย (ข้อมูลทางธุรกิจ สนทนาทางเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว การนำเสนอแบบมัลติมีเดีย และรูปแบบอื่นๆ) ศัพท์คำนี้เข้าใจอย่างง่ายหมายถึงเทคโนโลยีโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ในคำเดียวกัน สิ่งนี้เป็นเทคโนโลยีที่กำลังขับเคลื่อนสิ่งที่เรียกว่า การปฏิวัติสารสนเทศ

        2. ICT มาจาก       Information          สารสนเทศ, สารนิเทศ, ในบางครั้งหมายถึงข้อมูล
                                         Communication    การสื่อสาร
                                         Technology            เทคโนโลยี
ความหมายโดยรวม หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ การสื่อสาร เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ ซึ่งรวมไปถึงการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล

3. CAI คือ โปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
 (ย่อมาจาก Computer-Assisted Instruction)  ที่มีหน้าที่เป็นสื่อการเรียนการสอนเหมือนแผ่นใส (Transparent) สไลด์ (Slide) หรือวีดิทัศน์ (Video) ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
1. นักวิชาการ (Academic Expert)
2. นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer)
3. นักสร้างสรรค์ (Producer)
4. นักศิลปะ (Artist)
ฉะนั้น CAI ก็คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยสอน โดยมีการกำหนดให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนได้เช่นเดียวกับการเรียนในห้องเรียนกับครู  เพียงแต่มีคามยืดหยุ่นน้อยกว่าเท่านั้น

4. CALL   Computer Assisted Language Learning  หมายถึง โปรแกรมช่วยเรียนภาษาโดยเฉพาะ ใช้ได้ทั้งกับการเรียนในห้องเรียน โดยมีผู้สอนเป็นผู้ควบคุมดูแลกระบวนการเรียน และการให้ผู้เรียนเรียนจากโปรแกรมด้วยตนเองที่ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-access learning center) หรือที่ศูนย์คอมพิวเตอร์และสำหรับสถานศึกษาทีมีความพร้อมก็อาจมอบแผ่นโปรแกรมให้ผู้เรียนนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานศึกษาโดยผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์

  

                 5. WBI คืออะไร


WBI หรือ Web Base Instruction เป็นการจัดกิจกรรมการสอนในรูปแบบของ Web Knowledge Based โดยใช้เทคโนโลยีทางของ Webpage เป็นศูนย์กลางในการนำเสนอเนื้อหา หรือ ดำเนินกิจกรรม หรือที่เรานิยมเรียกกันติดปากว่า การเรียนการสอนแบบ Onlineนั่นเอง
รูปแบบของ WBI ได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆได้แก่
       1) Asynchronous Learning Methods
เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เวลาใดก็ได้แล้วแต่ความสะดวกของตนเองโดยผู้สอนจะมีการสร้างเนื้อหาไว้ใน Web site ที่กำหนด จะมีโครงสร้างเนื้อหาในรูปแบบต่างๆ เช่น Text หรือ VDO เพื่อผู้เรียนสามารถเข้ามาศึกษาได้ และอาจมีการกำหนดช่องทางในการติดต่อผู้สอน ในกรณีที่ผู้เรียนเกิดข้อคำถามที่ต้องการใช้ผู้สอนช่วยในการแนะนำ เช่นระบบ Webboard Chat หรือ E-Mail เป็นต้น
       2) Synchronous Learning Methods
เป็นการสอนในเวลาเดียวกับผู้เรียน โดยใช้เทคโนโลยีของ WEB เป็นสื่อกลางในการสอน โดยที่ผู้เรียนและผู้สอนสามารถปฏิสัมพันธ์กันในเวลาเดียวกันแต่ต่างๆสถานที่ หรือการเรียนการสอนในเวลาจริงนั่นเอง(Real Time) ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้จะเป็นระบบ Internet ความเร็วสูงและระบบการประชุมวีดิทัศน์(VDO Conferencing) ซึ่งผู้เรียนสามารถถามคำถามต่างๆ เมื่อตนเองเกิดข้อสงสัยได้ทันทีโดยไม่ต้องมีการฝากข้อคำถามไว้

        6. CBI  Computer Based Instruction
        หมายถึง วิธีการสอนหรือการฝึกหัดใด ๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ บางทีอาจเรียกว่าการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ,การเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์,การฝึกหัดโดยใช้คอมพิวเตอร์
http://www.edu.nu.ac.th/supanees/lesson/366515/unit5_p04.html

       7. Computer-mediated communication (CMC)  คือ การสื่อสารปฏิสัมพันธ์แบบไม่ต่อเนื่องกันผ่านเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งในบางครั้งอาจมีข้อความในด้านลบ การสื่อสารแบบ CMC อาจมากหรือน้อยเกินไปในบางครั้ง ที่ผ่านมาเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเหมาะแก่การส่งผ่านข้อมูลมากกว่าการใช้เพื่อปฎิสัมพันธ์กัน เพราะประการแรก คือ ขาดการตอบกลับแบบพร้อมเพรียงกัน เนื่องจากภาพและเสียงหรือข้อความจริงๆ ถูกลดทอน ทำให้ไม่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด ประการที่สอง คือ อาจทำให้เกิดการไม่เข้าใจกัน เพราะข้อความถูกตอบรับจากระบบอัตโนมัติ โดยปราศจากความยินยอมจากผู้รับหรือผู้สนทนาและไม่สามารถยกเลิกข้อความเหล่านั้นได้

       8. TELL   Technology-Enhanced Language-Learning
Technology-Enhanced Language-Learning (TELL) in an increasingly globalised world. It is not a technicalpaper in thesense that it will deal with methodological or software issues.                     http://www.stc.arts.chula.ac.t/ITUA/Papers_for_ITUA_Proceedings/Andrew-Lian.pdf

        9. MUD    Multi User Domains
MUD เป็นคำย่อมาจาก Multi User Domains หรือชื่ออื่น ๆ ที่เรียกกันก็มี Multi User Dimension , Muti User Dungeons)
http://senarak.tripod.com/mudmoo.html


        10. MOO    Multiuser domain Object Oriented
            MOOs หรือ MOO ย่อมาจาก MUD Object Oriented  ซึ่งเป็นระบบของการสื่อสารที่เป็น แบบซิงโครนัสที่ผู้ใช้(users)สามารถปฎิสัมพันธ์กันได้ด้วยการพิมพ์ข้อความ(text)โดยผู้สื่อสารกันนั้นสามารถ เลือกห้องหรือสถานที่สนทนากันได้ซึ่งผู้สนทนาจะต้องอยู่ในสถานที่ที่เรียกว่า room เดียวกัน(Ebbelink.1999)
             
          
Synchronous Tools
             Synchronous tools enable real-time communication and collaboration in a "same time-different place" mode. These tools allow people to connect at a single point in time, at the same time. Synchronous tools possess the advantage of being able to engage people instantly and at the same point in time. The primary drawback of synchronous tools is that, by definition, they require same-time participation -different time zones and conflicting schedules can create communication challenges. In addition, they tend to be costly and may require significant bandwidth to be efficient.
Tool
Useful for
Drawbacks
Audio conferencing
Discussions and dialogue
Cost, especially when international participation is involved
Web conferencing
Sharing presentations and information
Cost, bandwidth; may also require audio conferencing to be useful
Video conferencing
In-depth discussions with higher-touch interactions
Cost, limited availability of video conferencing systems
Chat
Information sharing of low-complexity issues
Usually requires typing, "lower touch" experience
Instant messaging
Ad hoc quick communications
All users must use compatible system, usually best for 1:1 interactions
White boarding
Co-development of ideas
Cost, bandwidth; may also require audio conferencing to be useful
Application sharing
Co-development of documents
Cost, bandwidth; may also require audio conferencing to be useful



Asynchronous Tools
              Asynchronous tools enable communication and collaboration over a period of time through a "different time-different place" mode. These tools allow people to connect together at each person's own convenience and own schedule. Asynchronous tools are useful for sustaining dialogue and collaboration over a period of time and providing people with resources and information that are instantly accessible, day or night. Asynchronous tools possess the advantage of being able to involve people from multiple time zones. In addition, asynchronous tools are helpful in capturing the history of the interactions of a group, allowing for collective knowledge to be more easily shared and distributed. The primary drawback of asynchronous technologies is that they require some discipline to use when used for ongoing communities of practice (e.g., people typically must take the initiative to "login" to participate) and they may feel "impersonal" to those who prefer higher-touch synchronous technologies.
Tool
Useful for
Drawbacks
Discussion boards
Dialogue that takes place over a period of time
May take longer to arrive at decisions or conclusions
Web logs (Blogs)
Sharing ideas and comments
May take longer to arrive at decisions or conclusions
Messaging (e-mail)
One-to-one or one-to-many communications
May be misused as a "collaboration tool" and become overwhelming
Streaming audio
Communicating or teaching
Static and typically does not provide option to answer questions or expand on ideas
Streaming video
Communicating or teaching
Static and typically does not provide option to answer questions or expand on ideas
Narrated slideshows
Communicating or teaching
Static and typically does not provide option to answer questions or expand on ideas
"Learning objects"
(Web-based training)
Teaching and training
Typically does not provide option to answer questions or expand on ideas in detail
Document libraries
Managing resources
Version control can be an issue unless check-in / check-out functionality is enabled
Databases
Managing information and knowledge
Requires clear definition and skillful administration
Web books
Teaching and training
Not dynamic and may lose interest of users
Surveys and polls
Capturing information and trends
Requires clear definition and ongoing coordination
Shared Calendars
Coordinating activities
System compatibility
Web site links
Providing resources and references
May become outdated and "broken"

A significant step beyond this smorgasbord of individual tools are web-based platforms that aim to provide some or most of the functionality of these standalone tools, but do so within a single integrated collaborative environment. The integration and synthesis of these tools creates a container that turns out to be far greater than the sum of its parts and can become the single portal for all community activities. Going beyond the hodgepodge of individual technologies can elevate members' experiences by encouraging collaborative learning and knowledge sharing.

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS